วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเดิมๆ (Dial Up)
การใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป เราต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เข้า
ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการใช้งาน เราจะต้องทำการต่อเชื่อมเข้าสู่http://www.somkiet.com/ComTech/ADSL.htm
อินเทอร์เน็ต โดยการ กด Dial ต่อจากนั้น ก็ใช้อินเทอร์เน็ตได้ ความ
เร็วของอินเทอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับโมเด็มด้วย ซึ่งโมเด็มความเร็วสูงสุด
ที่ใช้ก็เพียง 56 Kbps แต่ถ้าใช้งานเพียงเรียกดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
(Downstream หรือ Download) ความเร็วดังกล่าว ก็นับว่า
ดีเพียงพอ แต่ถ้าจะดูภาพแบบ Video หรือ Movie Clip ก็ควร
จะต้องมีความเร็วสูงขึ้น และในกรณีที่ต้องการใช้แบบ Upstream
หรือ Upload ก็ควรจะใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงขึ้น
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet หรือ
Broad Band Internet)

บรอดแบรนด์ คือเทคโนโลยีการับ-ส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น โดบใช้เทคนิค
Wide Band ซึ่งเมื่อมี Bandwidth มาก ก็จะสามารถส่งข้อมูล
ผ่านออกไปในปริมาณที่มากขึ้น

ในอดีตนั้น การรับ-ส่งข้อมูล ใชะระบบ Base Band ที่มีช่องความถี่
แคบๆเพียง 4 กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งทำให้เกิดข้อจกัดในการรับ-ส่งข้อมูล
ของโมเด็มธรรมดาเพียง 56 kbps เท่านั้น

สำหรับ Broad Band ในปัจจุบัน ใช้ความถี่ได้กว้างมาก ในช่วง
25.875 ถึง 1,099.6875 กิโลเฮิรตซ์
ระบบ ADSL (Asymmetric Digital Service Line)
ADSL เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่สามารถรับและส่งข้อมูลด้วยความ
เร็วสูง การรับข้อมูล (Downstream) จะมีความเร็วได้สูงถึง 8 เมกะบิต
ต่อวินาที (8 Mbps) และการส่งข้อมูล (Upstream) มีความเร็วสูง
สุดที่ 1 Mbps แต่การให้บริการในปัจจุบัน อาจจะมีความเร็วด้านการ
ส่งข้อมูลได้สูงสุด 512 kbps

ADSL ดีอย่างไร1. มีความเร็วสูงกว่าระบบเดิมที่ใช้โมเด็มมาก ทำให้ดูข้อมูลใน
อินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะที่มีรูปภาพมากๆ หรือมีภาพ
Video Clip ทำให้โหลดได้เร็วและภาพไม่กระตุก
2. สามารถติดต่อเข้าอินเทอร์เน็ตได้ทันที โดยไม่ต้องหมุนโทรศัพท์
และสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Always On)
3. บริการ ADSL สามารถรับข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงกว่าด้านการ
ส่งข้อมูล เพราะได้ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานส่วนใหญ่
ที่ผู้ใช้มักจะเรียกดูข้อมูล ภาพ และเสียง ส่วนการส่งข้อมูล เช่น การส่ง
อีเมล์ การ Update ข้อมูล Edit ข้อมูลในเว็บไซต์นั้น จะมีความเร็ว
ต่ำกว่า และอาจจะสูงสุดที่ 512 kbps แต่ก็นับว่ามากพอ

4. เมื่อติดตั้งระบบ ADSL แล้ว จะสามารถใช้งานโทรศัพท์หรือ
โทรสารได้ตามปกติ พร้อมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต บนคู่สาย หรือ
ที่หมายเลขโทรศัพท์เดียวกัน

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นิพจน์ภาษาซี

นิพจน์และตัวดำเนินการ

คำนำ
นิพจน์เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ที่สร้างประโยคเชิงซ้อนในภาษาซี ขึ้นมา นิพจน์ประกอบไปด้วยตัวแปรและตัวดำเนินการ ภาษาซีมีตัวดำเนินการหลายประเภทเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกัน ได้แก่

ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์ (Arithmetic operator)
ตัวดำเนินการกำหนดค่า (Assignment operator)
ตัวดำเนินการแบบยูนารี (Unary opeator)
ตัวดำเนินการเชิงตรรก (Logical operator) และ ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ (Comparative operator)
ตัวดำเนินการเงื่อนไข (Conditional Operator)
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงตัวดำเนินการต่างๆ โดยละเอียด


--------------------------------------------------------------------------------
ตัวดำเนินการคณิตศาสตร์
ได้แก่

+ (การบวก)
- (การลบ)
* (การคูณ)
/ (การหาร)
% (modulus หรือเศษที่ได้จากการหารเลขจำนวนเต็ม)
นักศึกษาลองเขียนโปรแกรมคำนวณผลจากการดำเนินการหาร 10 / 3 = ? ในภาษาซี นั้น 10.0 / 3.0 จะไม่เท่ากับ 10 / 3 ลองทำดู



--------------------------------------------------------------------------------
ตัวดำเนินการกำหนดค่า
เป็นตัวดำเนินการในการใส่ค่าตัวเลขแก่ตัวแปร เช่น
i = 6 ;
x = y = 6 ;

นอกจากนั้นยังมีตัวกำหนดค่าอื่นๆ อีก คือ

+=
-=
*=
/=
%=
ตัวอย่างการใช้งานเช่น i +=3 มีความหมายเดียวกับ i = i + 3
นักศึกษาลองเขียนโปรแกรมใช้งานตัวดำเนินการ += -= *= และ /=




--------------------------------------------------------------------------------
ตัวดำเนินการแบบยูนารี
เป็นตัวดำเนินการที่ต้องการตัวถูกดำเนินการเพียงตัวเดียวเท่านั้น ได้แก่ ++ และ -- เช่น
i++ มีความหมายเดียวกันกับ i + 1
i-- มีความหมายเดียวกันกับ i - 1

ลำดับการใช้งานของตัวดำเนินการแบบยูนารีมีความสำคัญ เราสามารถวางตัวดำเนินการแบบยูนารีไว้ข้างหน้า หรือ ข้างหลัง ตัวถูกดำเนินการก็ได้ ซึ่งจะให้ผลแตกต่างกัน ลองเขียนโปรแกรมข้างล่างนี้

โปรแกรมที่ 1 ตัวดำเนินการยูนารี

# include

main()
{
int i , j ;
int x, y ;

i = j = 1 ;

x = i-- + 1 ;
y = --j + 1 ;

printf("i = %d and j = %d \n",i,j) ;
printf("x = %d and y = %d \n",x,y) ;
return 0 ;
}






--------------------------------------------------------------------------------
ตัวดำเนินการเชิงตรรก และ ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบใช้เพื่อเปรียบเทียบค่าสองค่า เพื่อให้ผลเป็นค่าตรรกะคือ จริง หรือ เท็จ โดยผลจากการดำเนินการจะเป็นเลขจำนวนเต็ม คือ หากได้ 1 หมายถึง จริง และ 0 หมายถึง เท็จ ตัวดำเนินการเปรียบเทียบก็ได้แก่

< (น้อยกว่า) > (มากกว่า)
<= (น้อยกว่าหรือเท่ากับ) >= (มากกว่าหรือเท่ากับ)
== (เท่ากับ)
!= (ไม่เท่ากับ)
จงลองเขียนโปรแกรมข้างล่างนี้ เพื่อทดสอบการใช้งานตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
โปรแกรมที่ 2 การใช้งานตัวดำเนินการเปรียบเทียบ


# include

main()
{
int i = 1 , j = 2 , k = 3 ;

printf(" The value of i < j is %d \n", i < j) ; printf(" The value of (k-i) > j is %d \n",(k-i) > j) ;
printf(" The value of (i+j)==k is %d \n", (i+j)==k) ;
}




ตัวดำเนินการเชิงตรรกในภาษาซีมีอยู่ 3 ตัวได้แก่

&& (และ)
|| (หรือ)
! (ไม่ใช่)
โปรแกรมที่ 3 การใช้งานตัวดำเนินการเปรียบเทียบและตัวดำเนินการเชิงตรรก
# include

main( )
{
int i = 1 , j =2 , k = 3 ;

printf("The value of (j > i) && (k > i) is %d \n",(j > i) && (k > i)) ;
printf("The value of (j > i) || (k > i) is %d \n", (j > i) || (k > i)) ;
printf("The value of !(j > i) && (k > i) is %d \n", (j > i) && (k > i)) ;
printf("The value of !(j > i) || (k > i) is %d \n", !(j > i) || (k > i)) ;
return 0 ;
}